top of page
funeral-plans background menu home.jpg

Valued Your Precious Moments

จัดงานศพ โดย ฟิวเนอรัล-แพลน

  • บริการ จัดงานศพ ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่การเคลื่อนย้าย จนเสร็จสิ้นพิธีลอยอังคาร

  • มั่นใจได้ว่า พิธีทางศาสนา จะครบถ้วนสมบูรณ์

  • สร้างความทรงจำ และภาพลักษณ์อันทรงคุณค่า

งานศพ > สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อมีคนเสียชีวิต

คำแนะนำ สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อมีคนเสียชีวิต

ควรทำอย่างไรเมื่อมีคนเสียชีวิต​

เมื่อเพื่อนหรือคนที่คุณรักเสียชีวิต หรือคาดว่าจะเสียชีวิตในไม่ช้า ช่วงเวลานี้มีอาจจะเป็นช่วงเวลาที่คุณรู้สึกเครียดมาก โศกเศร้า และยังต้องมีเรื่องต่างๆมากมายที่จะต้องทำ ต้องดูแล และคุณกำลังแสดงความรับผิดชอบในการทำหน้าที่เตรียมงานศพ สำหรับคนที่คุณห่วงใย รายละเอียดเบื้องต้นต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ได้ง่ายขึ้น โดยเราจะอธิบายขั้นตอนการจัดงานศพ ตั้งแต่การโทรแจ้งเมื่อมีคนเสียชีวิต ไปจนถึงการดูแลเรื่องการเงินและการบริหารที่ต้องจัดการเกี่ยวกับงานศพ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายงานศพ หรือ ขอคำแนะนำจากเราในการจัดงานศพได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการความสะดวกในการจัดงานศพ ที่ ฟิวเนอรัล แพลน มีบริการ รับจัดงานศพ ไว้คอยบริการ

รับร่างผู้วายชนม์ที่โรงพยาบาล.jpg

สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อมีคนเสียชีวิต ขั้นตอนแรก ก่อนการจัดงานศพ คือ การมีสติ และ การแจ้งตาย

ออแกไนซ์รับจัดงานศพ จองศาลา  ฟิวเนอรัล แพลน1.jpg
ออแกไนซ์รับจัดงานศพ จองศาลา  ฟิวเนอรัล แพลน5.jpg

การเตรียมจัดงานศพเมื่อระยะเวลาใกล้เข้ามา

  • หากเพื่อน หรือคนที่คุณรักป่วยหนักและคาดว่าจะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ ให้พิจารณาเตรียมจัดงานศพล่วงหน้า การเตรียมงานศพล่วงหน้าจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมและสำรวจตัวเลือกต่างๆทั้งหมดได้ และก็มีแนวโน้มที่จะข่วยประหยัดเงินของคุณ
     

  • หากความตายเกิดขึ้นแล้วและคุณไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ให้ลองดูขั้นตอนในการจัดงานศพ ซึ่งจะช่วยให้คุณเรียบเรียงข้อมูลที่จำเป็น ไม่ว่าจะดำเนินการ จัดงานศพ ด้วยตัวเอง หรือจะใช้บริการ ออแกไนซ์รับจัดงานศพ ของ ฟิวเนอรัล แพลน

สรุปขั้นตอน การจัดงานศพ

  • ทำการจองศาลา ดำเนินการเคลื่อนย้าย จัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในพิธีสงฆ์ ดอกไม้ประดับหีบ และหีบศพ

  • พิธีรดน้ำศพ, พิธีสวดพระอภิธรรม, นิมนต์พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา, สวดมาติกาบังสุกุล, ถวายภัตตาหารเพล, พิธีฌาปนกิจ หรือ พิธีพระราชทานเพลิงศพ (เตรียมดอกไม้จันทน์ และของที่ระลึกงานฌาปนกิจ) จนกระทั่งเสร็จสิ้นพิธีเก็บอัฐิ และ ทำการลอยอังคาร

เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ต้องทำอย่างไรบ้าง

01

ออกหนังสือรับรองการตาย

แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยก่อนจะเสียชีวิตจะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการตายให้ไว้กับญาติเป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบในการแจ้งตาย (ขอใบมรณบัตร)

03

เอกสารในการขอ ใบมรณบัตร

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่
 

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการตาย

  • บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย (ถ้ามี)

  • หนังสือรับรองการตาย (ทร ๔/๑) ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลออกให้

  • สำเนาทะเบียนบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)

02

การแจ้งตาย

โดยบุคคลที่มีหน้าที่ในการแจ้งตายในกรณีนี้ได้แก่ โรงพยาบาลซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าบ้าน หรือ ญาติไปดำเนินการแจ้งการตายแทน โดยระยะเวลาในการแจ้งตาย จะต้องทำการแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาที่เสียชีวิต

04

ตัวอย่าง การเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

ขั้นตอนที่ 1: ทำใบมรณบัตร ใช้ใบรับรองแพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิต เตรียมบัตรประชาชนตัวจริงของผู้เสียชีวิต และผู้แจ้ง ทะเบียนบ้านตัวจริง ติดต่อเจ้าหน้าที่ห้องนิรมัย (ถ้ามี) หรือแผนกพยาธิวิทยา/นิติเวช (แล้วแต่กรณี) เพื่อนำเอกสาร และชุดสำหรับใส่ให้ผู้เสียชีวิตให้เจ้าหน้าที่ (เรื่องฉีดน้ำยารักษาสภาพ จำเป็นต้องฉีดไหมนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะสวดพระอภิธรรมกี่วัน หรือ ฌาปนกิจเลย)

หมายเหตุ: ห้องนิรมัย ในโรงพยาบาลจะทำหน้าที่ให้บริการเคลื่อนย้ายศพจากหอผู้ป่วย/ห้องฉุกเฉิน เก็บรักษาศพ ฉีดยารักษาศพ  และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขอรับศพ ออกเลขกำกับหนังสือรับรองการตาย บันทึกทะเบียนผู้เสียชีวิต แจ้งขอใบมรณบัตรศพไม่มีญาติ จำหน่ายศพไม่มีญาติอำนวยความสะดวกในการจัดการศพให้แก่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง หรือเจ้าหน้าที่จากรพ.ต่างๆที่มารับร่างผู้เสียชีวิตที่มอบให้โรงพยาบาล หรือศพที่บริจาคร่างกายและอวัยวะเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ 

 

** ในเวลาราชการ เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลหอผู้ป่วยโทรแจ้งที่ห้องนิรมัย ให้มารับศพเพื่อเก็บรักษาที่ห้องนิรมัยหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง พยาบาลจะสอบถามญาติผู้เสียชีวิต ว่าต้องการฉีดยารักษาสภาพศพหรือไม่ พร้อมบันทึกรายละเอียดลงในใบกำกับศพ พนักงานรักษาศพจะตรวจสอบชื่อ สกุลว่าตรงในใบกำกับศพหรือไม่พร้อมบันทึกลงในใบตรวจสอบคุณภาพห้องนิรมัย และให้พยาบาลลงชื่อผู้ส่งมอบศพ


** นอกเวลาราชการ พยาบาลหอผู้ป่วยแจ้งศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย(เวรเปล) เพื่อรับศพนำมาเก็บที่ห้องนิรมัย โดยศูนย์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะโทรแจ้งพนักงานรักษาศพเพื่อมาร่วมเคลื่อนย้ายศพ พร้อมตรวจสอบรายละเอียดใบกำกับศพ โดยกรอกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน บันทึกลงในใบตรวจสอบคุณภาพห้องนิรมัย จากนั้นพนักงานรักษาศพ จะตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับศพ ใบกำกับศพและใบรับรองการตายแล้วลงบันทึกประจำวัน

การติดต่อรับศพ

1. ผู้มีสิทธิรับศพ ญาติ หรือทายาทโดยชอบธรรม ตามลำดับที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
ลำดับที่ 1 บุตร คู่สมรส หรือบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ลำดับที่ 2 พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน
ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน
ลำดับที่ 4 ปู่ ย่า ตา ยาย
ลำดับที่ 5 ลุง ป้า น้า อา
กรณีที่ไม่มีทายาทข้างต้น ให้ขอหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่นั้นๆ ว่าเป็นศพไร้ญาติ


2. ผู้มีสิทธิรับศพ ติดต่อสำนักงานเขตภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อขอใบมรณบัตร โดยต้องเตรียมหลักฐาน พร้อมสำเนาอย่างละ 2 ชุด ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนผู้ตาย สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย สำเนาบัตรประชาชนผู้แจ้งตาย และหนังสือรับรองการตาย


3. ผู้มีสิทธิรับศพนำหลักฐานสำเนาใบมรณบัตร สำเนาหนังสือรับรองการตาย สำเนาบัตรประชาชนผู้ตาย สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย หรือหนังสือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรผู้ตาย และสำเนาบัตรประชาชนผู้รับศพ อย่างละ 1 ชุด พร้อมเขียนใบคำร้องขอรับศพ ติดต่อขอรับศพที่ ห้องนิรมัย

เมื่อมีคนเสียชีวิตที่บ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง

01 ติดต่อยังบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านที่มีการเสียชีวิต

  • ถ้ามีคนเสียชีวิตในบ้าน อย่าพึ่งเคลื่อนย้ายศพ สิ่งที่ต้องทำ คือ ติดต่อยังบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านที่มีการเสียชีวิต ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย แต่หากไม่มีเจ้าบ้าน ก็ให้ผู้พบศพเป็นคนแจ้งตาย (เจ้าบ้านสามารถมอบหมายคนอื่นแทนได้) การแจ้งตายกรณีนี้จะต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ

02 แจ้งตาย

  • การแจ้งตายกรณีนี้จะต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ โดยให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ เพื่อขอใบรับแจ้งความ/บันทึกประจำวัน และประสานงานไปทางโรงพยาบาลเพื่อให้มาชัณสูตร (รับรองสาเหตุของการตาย) และนำใบรับแจ้งความที่ได้ไปติดต่อสำนักงานเขตเพื่อออกใบมรณบัตร

03 ใบมรณบัตร

  • ในท้องที่อำเภอต่างจังหวัด ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านจะออกหลักฐานรับการแจ้งตาย (ทร 4 ตอนหน้า) ให้แล้วค่อยเอาเอกสารนี้ไปแจ้งนายทะเบียนที่เทศบาลเพื่อขอให้ออกใบมรณบัตรอีกครั้ง

  • ในเขตเทศบาล และในกรุงเทพฯ ให้ไปแจ้งการตายที่งานทะเบียนของสำนักงานเขตเลย (ไม่มี ทร 4 ตอนหน้า)

  • เตรียมหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่

    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการตายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 

    • ประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)

    • ใบรับการแจ้งตาย (ทร ๔ ตอนหน้า) ที่ผู้ใหญ่บ้านออกให้ (ถ้ามี)

    • สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้เสียชีวิตมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)

    • พยานบุคคล เช่น เพื่อนบ้าน

ตัวอย่าง ขั้นตอนในการ จัดงานศพ หลังจาก แจ้งตาย

funeral-plans background blog.jpg

1

ก่อนการเคลื่อนย้าย

เตรียมรูปภาพสำหรับนำมาประกอบในพิธีบำเพ็ญกุศล (ขนาดอย่างน้อย 12″ x 18″ จำนวน 1 ภาพ หรือ 2 ภาพ ขึ้นกับวัด) และเปลี่ยนเครื่องแต่งกายผู้วายชนม์ และฉีดน้ำยารักษาสภาพให้เรียบร้อย

2

จองศาลา เตรียมเคลื่อนย้าย

ติดต่อรถ/หีบศพ เพื่อเคลื่อนย้าย

หมายเหตุ: อาจมีการนิมนต์พระสงฆ์ระหว่างการเคลื่อนย้าย โดยส่วนมากแล้วทางวัดจะให้ทำการเคลื่อนย้ายเข้าไปได้ หลังจาก 14.00 น. 

3

กำหนดการ และ การจองศาลา

เจ้าภาพควรประมาณจำนวนแขกเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของศาลาที่จะทำพิธีสวดพระอภิธรรม และกำหนดจำนวนวันในการประกอบพิธี

พิธีรดน้ำศพ

สถานที่รดน้ำศพ โต๊ะหมู่บูชา

  • ตั้งโต๊ะหมู่ไว้ด้านศีรษะของร่างผู้ละสังขาร หันหน้าไปทางทิศใดทิศหนึ่ง ยกเว้นทิศตะวันตก (ดูความเหมาะสมของสถานที่เป็นหลัก)

  • ตั้งโต๊ะหมู่ไว้สูงกว่าเตียงรองร่างผู้ละสังขารพอสมควร

ที่ตั้งเตียงรองร่างผู้ละสังขาร

  • ตั้งกึ่งกลางบริเวณพื้นที่กว้าง โดยตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชา

  • หันด้านขวามือหรือด้านปลายเท้าของผู้ละสังขารให้ชี้ไปยังผู้มาแสดงความเคารพ

  • ไม่ควรเดินผ่านศีรษะของร่างผู้ละสังขาร

  • จัดร่างให้นอนหงายเหยียดยาว แขนและมือขวาเหยียดออกห่างจากลำตัวเล็กน้อยโดยให้วางมือหงายแบเหยียดออกคอยรับการรดน้ำ อาจนำพวงมาลัยคล้องมือผู้ละสังขารไว้ก็ได้

  • ใช้ผ้าแพรสีทองคลุมปิดร่างไว้ทั้งหมด เปิดเฉพาะใบหน้าและมือขวาของร่างเท่านั้น

  • จัดเตรียมขันโตกหรือขันน้ำพานรองขนาดใหญ่ตั้งไว้คอยรองรับน้ำที่รดศพ

  • เตรียมน้ำอบ น้ำหอม และขันหรือถ้วยใบเล็ก สำหรับตักน้ำให้แก่ผู้มารดน้ำ

4

ความเข้าใจพื้นฐานของ การจัดงานศพ

การให้ Funeral Plans (ฟิวเนอรัล แพลน) เป็นผู้ช่วยดำเนินการวางแผน และจัดเตรียมงานศพ สามารถช่วยแบ่งเบาความโศกเศร้าของครอบครัว ช่วยลดขั้นตอนการติดต่อ มีผู้คอยให้คำแนะนำ มีคนช่วยจัดงานให้ลุ่ล่วงตามขนบธรรมเนียมประเพณี ตามพิธีทางศาสนา ทำให้ท่านคลายความเหนื่อยล้า คลายความกังวล และมั่นใจว่าพิธีสงฆ์จะเป็นไปตามประเพณี ครบถ้วน และสมบูณณ์

การจัดงานศพ

นอกเหนือจากธรรมเนียมปฎิบัติ และความเชื่อทางศาสนาแล้ว การจัดงานศพยังถือเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่จัดขึ้นเพื่อสร้างโอกาสให้สมาชิกภายในครอบครัว, เพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นอันเป็นที่รักที่มีความเกี่ยวข้อง ได้รับทราบถึงการจากไป ได้ร่วมแสดงความอาลัย และเป็นโอกาสในการให้กำลังใจกันและกันนอกจากนี้การจัดงานศพยังเป็นเหตุการณ์ที่ช่วยทำให้ครอบครัวยอมรับถึงการจากไป และพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าได้

ทั้งนี้เราทุกคนสามารถวางแผนล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมงานศพของตัวเอง หรือคนในครอบครัวได้ตามความต้องการ ซึ่งสามารถเตรียมการเอง หรือให้ Funeral Plans (ฟิวเนอรัล แพลน) เป็นผู้ช่วยในการวางแผนล่วงหน้า และจัดพิธีให้ตามความต้องการ หรือท่านสามารถจัดพิธีศพเองก็ได้

นอกจากนี้ยังไม่มีใครสามารถกำหนดได้ว่าจะเสียชีวิต และเริ่มจัดงานศพได้เมื่อไหร่ หากมีผู้เสียชีวิตแล้ว ย่อมมี สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อมีคนเสียชีวิต ตามมามากมายและต้องรีบดำเนินการในระยะเวลากระชั้นชิด ตั้งแต่ การขอใบมรณบัตร ตลอดจนพิธีทางศาสนา ได้แก่ ขั้นตอนพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม และ ฌาปนกิจ เป็นต้น

การวางแผนงานศพ - การเตรียมจัดงานศพล่วงหน้า

ทั้งนี้ไม่ว่าท่านจะเลือกจัดงานศพเอง หรือ ให้ บริษัทรับจัดงานศพ เป็นผู้ดำเนินการ ท่านจำเป็นจะต้องวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับความต้องการก่อนเสมอ

ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้บริการรับจัดงานศพจาก บริษัทรับจัดงานศพครบวงจร, ออแกไนซ์งานศพ, หรือ จัดงานศพเอง สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่

  1. การจัดการกับร่างกาย​

  2. ระยะเวลาในการทำพิธี เช่น สวดวันเดียวเผา, การบรรจุเก็บศพ เพื่อรอระยะเวลาแล้วค่อย ฌาปนกิจ ทั้งนี้ตามที่ปฎิบัติสืบต่อกันมา นิยมที่จะใช้ จำนวนวันสวดอภิธรรม 3 คืน, 5 คืน , 7 คืน และทำการฌาปนกิจในวันถัดไป

  3. ศาสนสถาน หรือ สถานที่ในการทำพิธี (วัด หรือ ฌาปนสถาน)

  4. งบประมาณ ค่าใช้จ่าย เจ้าภาพงานสวดอภิธรรม ทั้งนี้ เมื่อ เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมค่าใช้จ่าย จะเป็นเท่าไหร่นั้นย่อมขึ้นกับ

    • สถานที่ และ สิ่งของเครื่องใช้ เช่น เครื่องไทยธรรม ผ้าบังสุกุล ปัจจัย และค่าบำรุงต่างๆ รวมถึง การตกแต่งด้วย พวงหรีด ดอกไม้ และชนิดของหีบศพ (โลง)

    • จำนวนผู้มาร่วมงาน ซึ่งจะหมายถึงค่าอาหารรับรอง และของที่ระลึกงานฌาปนกิจ (ของชำร่วยงานศพ)

    • พิธีกรรมเพิ่มเติม เช่น การจัด พิธีกงเต็ก, พิธีลอยอังคาร 

    • อื่นๆ เช่น การถ่ายภาพ , ค่าช่องเก็บอัฐิ และป้ายหินอ่อน

ขั้นตอนสวดพระอภิธรรม

การจัดงานศพศพนั้นจะเลือกทำที่ไหนก็ได้ โดยส่วนมากแล้วจะทำที่วัด (ศาสนสถาน) และฌาปนกิจที่นั่นเลย เนื่องจากวัดส่วนมากจะมีเมรุ พร้อมทำการฌาปนกิจอยู่แล้ว ซึ่งการเลือกว่าจะไปจัดงานศพ หรือ ทำพิธีทางศาสนา มักจะขึ้นกับฐานะทางสังคม และ การเดินทาง (ของครอบครัวเจ้าภาพ หรือ แขกผู้มาร่วมงาน)

พิธีสวดพระอภิธรรม และการรดน้ำศพ

ในวันแรกของพิธีสวดอภิธรรม หลังจากทำการเคลื่อนย้ายศพมาที่วัด ก็มักจะนิยมให้มีพิธีรดน้ำศพ เพื่อขอขมา และไว้อาลัย รวมถึงได้เห็นหน้าเป็นครั้งสุดท้าย (หากไม่มีเปิดโลงในวันฌาปนกิจ) จากนั้นพระสงฆ์จึงเริ่มพิธีสวดพระอภิธรรม

ขั้นตอนฌาปนกิจ

ในวันฌาปนกิจ จะมีหลายขั้นตอน นอกจากสิ่งของเครื่องใช้ในพิธีสงฆ์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงอาหาร และของที่ระลึกในงานฌาปนกิจ ที่ให้เพียงพอต่อจำนวนแขกที่จะมาร่วมงาน นอกจากนี้ ในช่วงพิธีการ เจ้าภาพควรจะต้องเตรียมการอ่านประวัติผู้วายชนม์ และเชิญประธานเป็นผู้ทอดผ้าบังสุกุลให้เรียบร้อยก่อนพิธีจะเริ่มต้น

การเก็บอัฐิ และ การลอยอังคาร​

ในการเก็บอัฐิ นิยมเก็บในวันถัดจากวันฌาปนกิจ โดยจะนัดหมายเวลาก่อนเที่ยงวัน ซึ่งเจ้าภาพจะนำไปลอยอังคารทั้งหมด หรือ แบ่งไว้ส่วนหนึ่งบรรจุโกฐ หรือ เบญจรงค์ ไปไว้ที่บ้าน หรือ บรรจุไว้ที่วัดก็ได้ตามแต่สะดวกปฏิบัติ

คำแนะนำเพิ่มเติม เมื่อมีผู้เสียชีวิต

** การโทรแจ้งครั้งแรก
ทำการโทรแจ้ง โดยติดต่อไปยังหน่วยงาน หรือ คนที่เหมาะสม ก่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกจากสถานที่ และเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ต้องการ เช่น วัด หรือ หน่วยงานที่รับบริจาคร่างกาย 

การโทรแจ้ง

  • แจ้งสถานีตำรวจ เมื่อมีคนตายและการตายที่ไม่ทราบสาเหตุ

  • แจ้งแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หากเสียชีวิตที่สถานพยาบาล

  • แจ้งสมาชิกในครอบครัว หรือ ตัวแทนทางกฎหมาย หากผู้เสียชีวิตได้วางแผนการจัดงานศพไว้ล่วงหน้า

หมายเหตุ การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ

•    การเสียชีวิตตามลำพัง – ไม่มีแพทย์อยู่ร่วมในช่วงเวลาเสียชีวิตหรือเป็นระยะเวลาต่อเนื่องก่อนที่จะเสียชีวิต
•    แพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุของการเสียชีวิตได้
•    สงสัยเป็นการฆาตกรรม
•    สงสัยว่าฆ่าตัวตาย
•    เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
•    สถานการณ์ที่น่าสงสัยหรือผิดปกติ
•    ความตายที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการแพทย์
•    ความตายเนื่องจากอาหาร, สารเคมีหรือยาพิษ
•    สงสัยว่าเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุการประกอบอาชีพ
•    สงสัยว่าเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดต่อซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
•    ความตายจากการจมน้ำ, ไฟไหม้, ฯลฯ
•    ความตายเกิดขึ้นขณะอยู่ในคุกหรืออยู่ในความดูแลของตำรวจ
•    สงสัยว่าการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของทารก

 

โดยให้เตรียมรายละเอียดข้อมูลไว้เบื้องต้น ได้แก่ 

ข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิต

  • ชื่อผู้เสียชีวิต

  • ภูมิลำเนา และที่อยู่ของผู้เสียชีวิต

  • หมายเลขประกันสังคม และเลขประจำตัวประชาชน ของผู้เสียชีวิต

  • เวลาที่เสียชีวิต

  • ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันภัย เช่น ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิต

  • สถานที่ที่เสียชีวิต และตำแหน่งศพในปัจจุบัน

  • มีแพทย์ประจำตัวที่ดูแล (ถ้ามี)

ข้อมูลของผู้ที่ติดต่อ

  • ชื่อของคุณ

  • ที่อยู่อาศัยของคุณ

  • ข้อมูลติดต่อของคุณ

  • ความสัมพันธ์ของคุณกับผู้เสียชีวิต

** การเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิต (การเคลื่อนย้ายศพ)
ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำการติดต่อหน่วยงานต่างๆ หากมีเงื่อนไขอื่นๆที่เพิ่มเติมเข้ามา เช่น ติดต่อสถานกงศุลเพื่อส่งศพข้ามประเทศ ซึ่งในสังคมปัจจุบันนี้ มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนที่เสียชีวิตในเมืองหนึ่งแล้วจะต้องถูกย้ายไปที่อื่นเพื่อดำเนินการต่อไม่ว่าจะด้วยวิธีฝังศพหรือเผาศพ เนื่องจากการเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุผล ซึ่งอาจจะไม่ได้เสียชีวิตที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล ตัวอย่างเช่น อาจเสียชีวิตในขณะที่บุคคลนั้นเดินทางในช่วงวันหยุด หรือ ขณะที่ออกไปทำงานที่อื่น นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวต่างชาติที่อาจเกษียณแล้ว และย้ายที่อยู่ แต่จะถูกส่งกลับไปยังบ้านประเทศบ้านเกิดเพื่อดำเนินพิธีศพ (การส่งศพข้ามประเทศ) ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเสียชีวิตที่ใดก็ตาม การเตรียมการเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตไปยังสถานที่ปลายทาง ในกรณีส่วนใหญ่จะกระทำโดยให้ผู้อื่นจัดการ เช่น ผู้ให้บริการจัดงานศพ หรือ ผู้ที่ขายโลงศพ หากต้องการส่งศพข้ามประเทศ ก็จะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบที่ใช้กับการขนส่ง โดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการส่งศพข้ามประเทศเหล่านี้จะรู้วิธีดำเนิน และให้คำแนะนำได้อย่างดี 

"ในการเคลื่อนย้ายศพแต่ละครั้งก็จะนำมาสู่ค่าใช้จ่าย ดังนั้นคุณควรวางแผนการเคลื่อนย้าย และดูระยะทางไว้ด้วย และในบางครั้งหากใช้ระยะเวลาในเดินหากนาน คุณก็อาจจะต้องขนส่งร่างผู้เสียชีวิตด้วยการแช่แข็ง หรือ ใช้ความเย็นด้วย"

 

** วิธีการขนส่ง
ร่างของผู้เสียชีวิตจะถูกขนส่งอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นอยู่ไกลจากสถานที่ปลายทางมากแค่ไหน และผู้ให้บริการขนส่งจะต้องเดินทางไป/กลับอย่างไร ซึ่งการขนส่งทางพื้นดิน ทั้งทางรถ ทางรถไฟ จะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าขนส่งทางเครื่องบิน (การขนส่งทางเครื่องบินต้องแต่งศพ และแช่แข็ง ซึ่งต้องตรวจสอบเงื่อนไขของสายการบินก่อนทุกครั้ง) นอกจากนี้ในการขนส่งระหว่างประเทศจะต้องมีเอกสารและข้อบังคับที่ต้องปฎิบัติตาม ซึ่งกฎเกณฑ์และข้อบังคับของแต่ละประเทศสามารถสอบถามได้ที่สถานฑูต หรือกงสุล


ข้อมูลที่คุณจะต้องใช้เมื่อติดต่อเรื่องการขนส่ง หรือ เคลื่อนย้ายศพ

  • ชื่อผู้เสียชีวิต

  • ที่อยู่ปลายทาง - ที่อยู่ / เมือง / จังหวัด / รหัสไปรษณีย์ / หมายเลขโทรศัพท์

  • หมายเลขประกันสังคมของผู้เสียชีวิต / หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน

  • วันและเวลาตาย

  • ตำแหน่งปัจจุบัน (ต้นทาง) - ที่อยู่ / เมือง / จังหวัด / รหัสไปรษณีย์ / หมายเลขโทรศัพท์

  • ชื่อของคุณ

  • คุณอาศัยอยู่ที่ไหน  - ที่อยู่ / เมือง / จังหวัด / รหัสไปรษณีย์ / หมายเลขโทรศัพท์

  • ความสัมพันธ์กับผู้ตาย

 

** มีแผนล่วงหน้าสำหรับการจัดงานศพไว้แล้วหรือไม่
หากผู้เสียชีวิตได้ทำแผนจัดงานศพไว้ล่วงหน้าแล้ว ให้ติดต่อผู้ให้บริการตามที่ได้ระบุไว้ และคุยถึงรายละเอียดในพิธีต่างๆเพิ่มเติม เช่น  พิธีฝังศพ พระราชทานเพลิงศพ เป็นต้น หากไม่มีการวางแผนล่วงหน้าไว้ เพื่อน หรือญาติในครอบครัวก็อาจจะต้องดำเนินการเองทั้งหมด หรือ สามารถให้บริษัท หรือผู้ให้บริการรับจัดงานศพ เข้ามาช่วยดูแลได้

 

** การเตรียมสถานที่ ได้แก่ วัด ฌาปนกิจ โบสถ์  สุสาน
หากผู้เสียชีวิตต้องการทำพิธีทางศาสนาพุทธ ให้ติดต่อวัดที่ต้องการ และเตรียมข้าวของเครื่องใช้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม) หากผู้เสียชีวิตจะถูกฝังและยังไม่ได้ซื้อสุสาน ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ของสุสาน เพื่อเลือกซื้อหลุมฝังศพ หรือ แม้แต่ซื้อช่องสำหรับใส่โกศที่บรรจุเถ้ากระดูก (อัฐิ)

 

** เครื่องใช้ หรือ สิ่งของสำหรับงานศพ
สิ่งของที่ต้องเตรียมในงานศพ เช่น รูปผู้เสียชีวิต ดอกไม้งานศพ พวงหรีด โลงศพ โกศ ของที่ระลึก ของชำร่วยงานศพ แม้กระทั่งของว่าง หรือ อาหารงานศพ โดยเลือกและซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็นก่อน เพื่อช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย

 

** การจัดการมรดก 
เรื่องพินัยกรรม ทรัพย์สินการเงิน และ การบริหารอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียชีวิตจะต้องเป็นไปตามลำดับ การจัดการมรดกเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนการประกาศการเสียชีวิตไปจนถึง
การยื่นขอสิทธิประโยชน์ภายหลังการเสียชีวิตเพื่อเปลี่ยนชื่อของสินทรัพย์ของผู้เสียชีวิตเป็นชื่อญาติพี่น้อง 

รับฟรี

แบบฟอร์มและคู่มือในการเตรียมงานศพ

ขอร่วมแสดงความเสียใจในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และเราจะจัดส่งแบบฟอร์มกลับไปให้อย่างเร็วที่สุด

การจัดงานศพ ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง

หากมีผู้เสียชีวิต และคุณไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ลองเข้าไปดูรายการตาม แบบฟอร์มในการเตรียมงานศพ นะครับ เพราะว่าแบบฟอร์มนี้อาจจะช่วยให้คุณเรียบเรียงข้อมูลที่จำเป็นได้แบบไม่ตกหล่น แต่อย่างไรก็ตาม ในแบบฟอร์มที่เราเตรียมไว้ให้นี้ จะเป็นหัวข้อเรื่องรวมๆ ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะให้ความสำคัญในแต่ละหัวข้อไม่เหมือนกัน นอกจากนี้อย่าลืมเรื่องความคิดเห็นของญาติพี่น้อง หรือ ญาติผู้ใหญ่ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจในหลายๆด้าน ดังนั้นก่อนทำอะไรก็ควรสรุปและหาข้อตกลงร่วมกันก่อนที่จะดำเนินการนะครับ

วิธีการจัดงานศพ
การฝังศพ / การเผาศพ / การบริจาคร่างกาย


ประเภทของพิธี

  • ผู้เสียชีวิตเลือกบริจาคร่างกายให้กับโรงพยาบาล ก็อาจจะแจ้งคนในครอบครัว จัดพิธีส่วนตัวเฉพาะญาติ และคนสนิท

  • จัดงานศพตามพิธีทางศาสนา


ของใช้ระหว่างการประกอบพิธีทางศาสนา ตัวอย่าง เช่น 

  • ของใช้ที่ต้องเตรียมสำหรับการเคลื่อนย้ายไปที่วัด

1. กระถางธูป พร้อมผงธูป หรือ ทรายแก้ว
2. รูปภาพที่จะตั้งหน้าศพ ผ้าคลุมศพ เสื้อผ้าผู้ตาย
3. ธูปพิธี ( ธูปยาว )  ธูป (ยาวธรรมดา )  เทียนเหลือง ไหว้พระ   เทียนขาว ไหว้ศพ  ดอกไม้ มาลัย 
( ควรไหว้ ศาลพระภูมิ ของโรงพยาบาลด้วย ) ถ้าเสียที่บ้าน ไหว้เจ้าที่ที่บ้านด้วย
4. สายสิญจน์ 
5. ตะเกียงนำทาง (ตะเกียงโป๊ะ ) พร้อมน้ำมันก๊าซ
6. สังฆทาน  ถวายพระภิกษุ
7. ญาติๆจัดเตรียมเสื้อผ้า ชุดดำ-ขาว

  • ของใช้ที่ต้องเตรียมเมื่อถึงที่วัด

1. ด้ายแดง ไหมแดง (คนไทยเชื้อสายจีน)
2. ลูกอม เช่น ฮอลล์ โอเล่ย์ ฮาร์ทบีท (คนไทยเชื้อสายจีน)
3. ซองซิป (
คนไทยเชื้อสายจีน)
4. ซองขาวเป็นปึกๆ
5. ธูป สำหรับไหว้พระ 
6. ธูป สำหรับ เคารพศพ
7. ธูป พิธี  เป็นธูปยาว ต่อไว้ อย่าให้ดับ
8. เทียนเหลือง ไหว้พระ 
9. เทียนขาว จุดหน้าศพ
10. เตรียมการของชำร่วย เนื่องจาก ของบางอย่าง ต้องใช้เวลาเตรียมแต่เนิ่นๆ หรือ ต้องสั่งตัดสติ๊กเกอร์แปะ
11. อาหาร - เครื่องดื่ม รับแขก รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียน  จำเป็นมาก แต่มักลืมกัน เช่น ปากกา ดินสอ คัตเตอร์ กรรไกร สก๊อตเทป กาว สมุดจด
12. จัดเตรียม เหรียญโปรยทานงานศพ  , ซองใส่เงินไว้ จำนวนหนึ่ง เป็นสินน้ำใจเล็กน้อย ให้คนส่งพวงหรีด หรือ เจ้าหน้าที่วัดที่มาช่วยงาน
13. จดรายการ ของที่จะทำบุญ ในคืนสวดต่างๆ เช่น สังฆทาน ผ้าไตร  หรือ กระดาษไหว้ต่างๆ แบบคนจีน
14.  จดรายการ ของที่จะเตรียม ในพิธีเผา เช่น ดอกไม้จันทน์ มีทั้ง ช่อเชิญ ช่อประธาน   และ ช่อเล็กๆ ของแขกที่มาร่วมงาน
ของชำร่วยต่างๆ หรือ ถ้ามีการบวชหน้าไฟ ต้องเตรียมชุดบวช
15. หลังพิธีแล้ว ก็จะมีการเก็บอัฐิ เตรียม ผ้าขาว น้ำอบ ดอกไม้สด  โกศ ลุ้งลอยอังคาร 

เงินที่ใช้จัดพิธีศพ

  • เงินเก็บ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์

  • เงินประกัน

  • เงินกู้

รับจัดงานศพ ฌาปนกิจ ของชำร่วยงานศพ สวดอภ

คำถามทั่วไปเกี่ยวกับการจัดงานศพ

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่มีเงินจ่ายสำหรับงานศพ?

  • งานศพมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และคนส่วนมากไม่ได้เตรียมเงินไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม คุณอาจมองหาความช่วยเหลือจาก มูลนิธิ หน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณอาศัยอยู่ที่ไหน และสถานการณ์ทางการเงินของคุณเป็นอย่างไร


ต้องโทรหาตำรวจเมื่อมีคนตายที่บ้านหรือไม่?

  • คุณอาจไม่ต้องโทรแจ้งตำรวจเมื่อมีผู้เสียชีวิตที่บ้าน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสาเหตุแห่งความตาย


จำเป็นจะต้องมีงานศพหรือไม่?

  • คุณไม่จำเป็นต้องมีงานศพก็ได้ สำหรับบางคนก็เลือกที่จะบริจาคร่างกาย ซึ่งก็ขึ้นกับตัวคุณเองทั้งหมด

bottom of page