top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนFuneral Plans

การขอพระราชทานเพลิงศพ และ การขอดินพระราชทาน (ตอนที่ 1)

อัปเดตเมื่อ 4 ก.พ. 2564

ตัวอย่าง ขั้นตอนการขอพระราชทานเพลิงศพ โดย กรมสรรพากร



ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการพระราชทานเพลิงศพ

 

​โกศ


ในอดีตผู้ได้รับพระราชทานโกศเป็นเครื่องเกียรติยศประกอบศพนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องมัดศพและบรรจุลงไปในโกศจริง ๆ โดยจะต้องยกมือศพพนมที่หน้าอกและงอขาศพนั่งแบบชันเข่า มัดตราสังข์ด้วยเชือกที่ควั่นด้วยด้ายดิบ จากนั้น จะนําผ้าขาวมาห่อศพ ผูกมัดตามรูปแบบเฉพาะแล้วผูกผ้าให้เป็นปมเหนือศีรษะศพก่อนบรรจุลงโกศ แต่ในปัจจุบันสํานักพระราชวังยินยอมให้ตั้งโกศบนจิตกาธาน โดยไม่มีร่างของผู้ถึงแก่กรรมได้ (บรรจุลงหีบแล้วตั้งโกศประกอบแทน) ทั้งนี้เนื่องจากว่าโกศเป็นเครื่องแสดงเกียรติยศ

ของผู้ตาย เป็นเครื่องหมายแห่งผลของการทําคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองมาโดยตลอด ดังนั้น จึงไม่จําเป็นต้องมีร่างของผู้ตายอยู่ในนั้น


น้ำหลวงพระราชทาน


บุคคลผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รวมทั้งพระสงฆ์ ทรงสมณศักดิ์ถือว่าเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ สมควรได้รับการยกย่องและประกาศเกียรติ คุณโดยเฉพาะวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ําหลวงอาบศพและ เครื่องเกียรติยศประกอบศพให้แก่ผู้วายชนม์ซึ่งถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ทั้งนี้ผู้ได้รับพระราชทานหีบทองลายสลัก หีบทองทึบจนถึงชั้นโกศ เป็นเครื่องเกียติยศประกอบศพ น้ําหลวงพระราชทานจะบรรจุไว้ใน “หม้อถม” ส่วนผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพที่ตํ่ากว่านี้จะใช้ “หม้อเงิน” แทน


เครื่องเกียรติยศประกอบศพ


ได้แก่ หีบ โกศ ฉัตร ปี่ แตร กลองชนะ ฯลฯ ตามแต่ชั้นยศหรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งเป็นเครื่องประกาศคุณงามความดีในวาระสุดท้ายของชีวิต ทั้งนี้บุคคลที่ไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หากถึงแก่กรรม ถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์และพระราชทานหีบหลวง จะได้รับพระราชทานหีบทองลายองุ่น


 

การขอพระราชทานเพลิงศพ มี 2 กรณี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เฉพาะกรณีเป็นคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิในการขอพระราชทานเพลิงศพเท่านั้นคือ


การขอพระราชทานเพลิงศพ หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ

1. ข้าราชการตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานและระดับปฏิบัติการขึ้นไป (ระดับ 3 เดิม) สําหรับในกรณียังไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

2. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ขึ้นไป


การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ

1. บิดา มารดาของข้าราชการระดับชํานาญงานและระดับชํานาญการขึ้นไป (ระดับ 6 เดิม)

2. บิดา มารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ขึ้นไป

3. ผู้ที่บริจาคร่างกายหรืออวัยวะแก่สภากาชาดไทย โรงพยาบาลของรัฐหรือ สถานศึกษา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

4. ผู้บริจาคทรัพย์สินเพื่อการกุศลคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ทั้งนี้ บุคคลผู้ทําลายชีพตนเองและผู้ต้องอาญาแผ่นดิน ไม่สามารถขอพระราชทานเพลิงศพ และเครื่องเกียรติยศประกอบ และสําหรับการขอพระราชทานเพลิงศพทั้ง 2 กรณี จะต้องไม่ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ พระราชพิธีฉัตรมงคล และ ตามประเพณีนิยมไม่มีการเผาศพในวันศุกร์

 

ตัวอย่าง ขั้นตอนการขอพระราชทานเพลิงศพของกรมสรรพากร


เตรียมเอกสาร รายละเอียด และแบบฟอร์ม

การขอพระราชทานเพลิงศพของกรมสรรพากรนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของสํานักบริหารกลาง (บก.) โดยผู้ที่ประสงค์จะขอพระราชทานเพลิงศพ สามารถยื่นคําร้องการขอพระราชทานเพลิงศพได้ที่

สํานักบริหารกลาง (บก.) - โทรศัพท์ 02-6173357 02-2729390 เพื่อสํานักบริหารกลาง (บก.) นําเรื่องแจ้ง หรือ นําเรื่องติดต่อด้วยตนเอง ณ กองพระราชพิธีสํานักพระราชวัง โดยมีรายละเอียด (หากเป็นหน่วยงานอื่นก็ติดต่อสำนักบริหารกลางของตนเอง) ดังนี้

การสืบค้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์


ข้าราชการปัจจุบัน

1.1 ข้าราชการปัจจุบันถึงแก่กรรม (ขอพระราชทานเพลิงศพ) – ติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายบําเหน็จบํานาญและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สํานักบริหารทรัพยากรบุคคล หมายเลขโทรศัพท์ 02-2728530

1.2 ข้าราชการปัจจุบัน (ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ) - สืบค้นจาก link >> สํานักบริหารทรัพยากรบุคคล >> เข้าสู่ระบบสําหรับตรวจสอบประวัติของเจ้าของประวัติ >> เข้าสู่ระบบด้วย

รหัส e-office >> แสดงประวัติ


ข้าราชเกษียณอายุ (ขอพระราชทานเพลิงศพและขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ) -

ติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่มงานฐานันดร สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหมายเลขโทรศัพท์ 02-2809000 ต่อ

425-6 (ระหว่างเวลา 12.00 น. – 13.00 น. เปิดให้บริการสอบถามทางโทรศัพท์)


รายละเอียดการขอพระราชทานฯ กรณีนําหนังสือติดต่อสํานักพระราชวัง ด้วยตนเอง


1. ติดต่อยังอาคารสํานักพระราชวัง โดยเข้าสู่พระบรมมหาราชวังทางประตูวิมานเทเวศร์ (ถนนหน้าพระลาน)


2. นําหนังสือแจ้งที่อาคารสํานักพระราชวัง ฝ่ายสารบรรณ ชั้น 2 (ผ่านประตูสุวรรณบริบาล ด้านหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท) เพื่อพิจารณาว่าการขอพระราชทานฯ นั้น อยู่ในหลักเกณฑ์หรือไม่ จากนั้นจึงนําหนังสือไปติดต่อที่อาคารกองพระราชพิธีห้องรับรอง ชั้น 1 เพื่อขอหมายรับสั่ง


3. การติดต่อกองพระราชพิธี เพื่อขอหมายรับสั่ง แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

- กรณีการขอพระราชทานฯ ณ วัดที่อยู่ต่างจังหวัดหรือปริมณฑล ซึ่งห่างจากพระบรมมหาราชวังนอกรัศมี 50 กิโลเมตร สามารถรอรับหีบเพลิงพระราชทานเพื่อดําเนินการต่อไปได้

- กรณีการขอพระราชทานฯ ณ วัดซึ่งอยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตรจากพระบรมมหาราชวัง กระบวนการดังกล่าวประมาณ 3 วันทําการ นับจากวันที่ติดต่อกองพระราชพิธี


4. ติดต่อกองพระราชพิธีสํานักพระราชวัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-2235163,

02-6235500 (วันจันทร์ – วันศุกร์) และ หมายเลขโทรศัพท์ (อัตโนมัติ) 02-6235499 ต่อ 4501


ปัจจุบันมีผู้ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นจํานวนมาก เลขาธิการพระราชวังได้มีบัญชาว่า เพลิงที่พระราชทานไปเผาศพ ณ วัดที่อยู่ต่างจังหวัดหรือปริมณฑล ซึ่งห่างจากพระบรมมหาราชวังนอกรัศมี 50 กิโลเมตร ให้จัดเป็นหีบเพลิงพระราชทานมอบเจ้าภาพเชิญไปดําเนินการเอง โดยไม่มีเจ้าหน้าที่สํานักพระราชวังไปปฏิบัติดังนั้น กองพระราชพิธี จึงได้กําหนดระเบียบการขอรับหีบเพลิงพระราชทานดังนี้


1. ให้เจ้าภาพศพหรือผู้แทนเจ้าภาพ ไปติดต่อขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี

สํานักพระราชวัง

2. กรณีที่เจ้าภาพไม่สามารถไปรับหีบเพลิงพระราชทานด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นไปรับ

แทนก็ได้ โดยนําต้นเรื่อง หนังสือมอบฉันทะและสําเนาบัตรประจําตัวผู้แทนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่

3. เจ้าภาพหรือผู้แทน ควรไปรับหีบเพลิงก่อนกําหนดวันพระราชทานเพลิงอย่างน้อย 3 วัน

4. ผู้ที่มารับหีบเพลิงควรแต่งกายสุภาพ

5. ให้รับหีบเพลิงพระราชทานที่โต๊ะหมู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์

6. ห้ามเปิดหรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อ

เจ้าภาพเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปถึงมณฑลพิธี



ดู 431 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page